เมนู

คาถาที่ 7


คาถาว่า ขิฑฺฑา รติ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?
ในกรุงพาราณสี มีพระราชา พระนามว่า เอกปุตติกพรหมทัต ก็
พระราชโอรสพระองค์เดียวนั้น เป็นที่รัก เป็นที่พอพระทัย เป็นผู้เสมอด้วย
ชีวิตของพระองค์ พระองค์ได้พาพระราชโอรสเป็นไปในพระอิริยาบถทั้งปวง
ในวันหนึ่ง พระองค์เมื่อเสด็จไปสู่พระราชอุทยาน ไม่ทรงพาพระราชโอรสนั้น
เสด็จไป. พระกุมารสิ้นพระชนม์ ด้วยพยาธิซึ่งเกิดขึ้นในวันนั้นเท่านั้น อำมาตย์
ทั้งหลายคิดว่า แม้พระหทัยของพระราชาพึงแตก เพราะความเสน่หาในพระ-
ราชโอรส จึงไม่ทูลบอก พากันถวายพระเพลิงพระราชโอรสนั้นเสีย พระราชา
ทรงเมา ด้วยความเมาในน้ำจัณฑ์ในพระราชอุทยาน จึงไม่ทรงระลึกถึงพระ
ราชโอรส ในเวลาทรงสนานและเสวยเป็นต้น แม้ในวันที่สอง ก็ทรงระลึกไม่
ได้เหมือนกัน. ลำดับนั้น ทรงเสวยพระกระยาหาร ประทับนั่งแล้ว ทรงระลึกได้
จึงตรัสว่า จงนำบุตรให้แก่เรา พวกอำมาตย์ทูลบอกเรื่องนั้น โดยวิธีอันสมควร
แด่พระองค์.
ตั้งแต่นั้น พระราชาถูกความโศกครอบงำ ประทับนั่งเท่านั้น ทรง
กระทำให้พระทัยโดยแยบคายว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้ก็เกิด
ดังนี้ พระองค์ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท ทั้งอนุโลมและปฏิโลม โดยลำดับ
อย่างนี้ ทรงกระทำให้แจ้งซึ่งปัจเจกสัมโพธิญาณ. บทที่เหลือเป็นเช่นกับที่
กล่าวแล้วในสังสัคคคาถานั้นแล เว้นอรรถวัณณนาแห่งคาถา.
ก็ในอรรถวัณณนา บทว่า ขิฑฺฑา ได้แก่ การเล่น. การเล่นนั้น
มี 2 อย่าง คือ การเล่นทางกาย 1 การเล่นทางวาจา 1. การเล่นมีอาทิ